ฟอร์ด ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ทั้งการผลิต การกระจายสินค้า การขาย และการบริการหลังการขาย โดยฟอร์ดนับเป็นหนึ่งในบริษัทยานยนต์ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนสะสมกว่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 1 แสนล้านบาท
เครือข่ายบริษัทของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ในประเทศไทยประกอบด้วย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ฟอร์ด เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และโรงงานผลิตรถยนต์ระดับโลก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) และบริษัทออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (เอเอที) การดำเนินธุรกิจของฟอร์ดในประเทศไทยจึงครอบคลุมการผลิตและการประกอบรถยนต์ การตลาด การขาย และการให้บริการหลังการขาย
ในปี พ.ศ. 2562 ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้จัดตั้งกลุ่มตลาดนานาชาติ (International Markets Group - IMG) ซึ่งรวมกลุ่มตลาดที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน โดยมีตลาดหลักประกอบด้วย ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ ไทย และตลาดที่บริหารงานโดยผู้จำหน่าย โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดระดับโลกที่สำคัญของกลุ่มตลาดนานาชาติ และจะยังคงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตหลักของฟอร์ด
ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคของกลุ่มตลาดนานาชาติ โดยเป็นศูนย์กลางการผลิตและเป็นฐานปฎิบัติการหลักของฝ่ายปฏิบัติการกลุ่มตลาดนานาชาติ (IMG Operations) และฝ่ายบริหารกิจการกลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทรถกระบะสำหรับตลาดโลก (Global Trucks Enterprise Product Line Management - EPLM) อีกทั้งยังเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสื่อสารการตลาดของกลุ่มตลาดนานาชาติ
ยอดขายและความสำเร็จของฟอร์ดในประเทศไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับตลาดรถกระบะ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ เอสยูวี หรือรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดกลาง โดยสามารถทำยอดขายได้ดีกว่าอุตสาหกรรมโดยรวมและขยายส่วนแบ่งตลาดให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
ฟอร์ดยังมุ่งรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของฟอร์ดในประเทศไทย ด้วยการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ฟอร์ดมีเครือข่ายผู้จำหน่าย 180 โชว์รูมทั่วประเทศ
ในปัจจุบัน ฟอร์ดนับเป็นหนึ่งในบริษัทยานยนต์ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 รวมกว่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ฟอร์ดได้ลงทุนมากกว่า 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายฐานการผลิตและศูนย์กลางการส่งออกสำคัญระดับโลก ในมูลค่าดังกล่าวยังรวมถึงการลงทุนกว่า 377 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อพัฒนาและขยายไลน์การผลิตรถกระบะที่โรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) เพื่อผลิตรถฟอร์ด เรนเจอร์ใหม่ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ใหม่ และยังรวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมอีก 450 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2555 สำหรับโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) ในจังหวัดระยอง นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2558 ฟอร์ดยังลงทุนเพิ่มเติมอีก 186 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตฟอร์ด เรนเจอร์ ที่โรงงานเอฟทีเอ็ม เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค
ในปี พ.ศ. 2564 ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของฟอร์ดในประเทศไทยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจในไทยกว่า 25 ปี ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 28,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ทั้งที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) ซึ่งฟอร์ดเป็นเจ้าของ และโรงงานร่วมทุน ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) เพื่อรองรับการผลิตรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ และรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ฟอร์ด ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ Ford+ (ฟอร์ด พลัส) เพื่อสร้างการเติบโตและเพิ่มคุณค่าของบริษัท โดยโรงงานเอฟทีเอ็ม มีกำลังการผลิตรถรวมอยู่ที่ 135,000 คันต่อปี ในขณะที่โรงงานเอเอทีมีกำลังการผลิตรถรวมอยู่ที่ 270,000 คันต่อปี
ฟอร์ดให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนที่ฟอร์ดดำเนินธุรกิจอยู่ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วประเทศไทย ฟอร์ดได้จัดทำโครงการ Ford Driving Skills for Life หรือ ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมของฟอร์ดทั่วโลกที่ให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัย ในประเทศไทย ฟอร์ดได้จัดอบรมโครงการให้กับผู้สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมแล้วกว่า 13,000 ราย ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
ฟอร์ดยังได้บริจาครถยนต์ฟอร์ด สิ่งของจำเป็น ทรัพยากรบุคคล และเงินสนับสนุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติในประเทศไทย อีกทั้งยังสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับนักเรียนไทย ภายใต้โครงการทุนการศึกษา Ford+ Innovator Scholarship และโครงการ เปลี่ยนความรู้...สู่อาชีพ ที่ฟอร์ดจัดทำร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเป็นช่างเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น ทั้งจากห้องเรียน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมเพื่อสังคมของอาสาสมัครฟอร์ดทั่วโลกในโครงการ Water Go Green
นอกจากนี้ กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี หน่วยงานเพื่อสังคมของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ยังได้ก่อตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC) ในชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ นี้เป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และหน่วยงานเอ็นจีโอหลายองค์กร โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและความช่วยเหลือตามความต้องการและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น
ฟอร์ด ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ทั้งการผลิต การกระจายสินค้า การขาย และการบริการหลังการขาย โดยฟอร์ดนับเป็นหนึ่งในบริษัทยานยนต์ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนสะสมกว่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 1 แสนล้านบาท
เครือข่ายบริษัทของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ในประเทศไทยประกอบด้วย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ฟอร์ด เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และโรงงานผลิตรถยนต์ระดับโลก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) และบริษัทออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (เอเอที) การดำเนินธุรกิจของฟอร์ดในประเทศไทยจึงครอบคลุมการผลิตและการประกอบรถยนต์ การตลาด การขาย และการให้บริการหลังการขาย
ในปี พ.ศ. 2562 ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้จัดตั้งกลุ่มตลาดนานาชาติ (International Markets Group - IMG) ซึ่งรวมกลุ่มตลาดที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน โดยมีตลาดหลักประกอบด้วย ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ ไทย และตลาดที่บริหารงานโดยผู้จำหน่าย โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดระดับโลกที่สำคัญของกลุ่มตลาดนานาชาติ และจะยังคงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตหลักของฟอร์ด
ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคของกลุ่มตลาดนานาชาติ โดยเป็นศูนย์กลางการผลิตและเป็นฐานปฎิบัติการหลักของฝ่ายปฏิบัติการกลุ่มตลาดนานาชาติ (IMG Operations) และฝ่ายบริหารกิจการกลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทรถกระบะสำหรับตลาดโลก (Global Trucks Enterprise Product Line Management - EPLM) อีกทั้งยังเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสื่อสารการตลาดของกลุ่มตลาดนานาชาติ
ยอดขายและความสำเร็จของฟอร์ดในประเทศไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับตลาดรถกระบะ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ เอสยูวี หรือรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดกลาง โดยสามารถทำยอดขายได้ดีกว่าอุตสาหกรรมโดยรวมและขยายส่วนแบ่งตลาดให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
ฟอร์ดยังมุ่งรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของฟอร์ดในประเทศไทย ด้วยการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ฟอร์ดมีเครือข่ายผู้จำหน่าย 180 โชว์รูมทั่วประเทศ
ในปัจจุบัน ฟอร์ดนับเป็นหนึ่งในบริษัทยานยนต์ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 รวมกว่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ฟอร์ดได้ลงทุนมากกว่า 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายฐานการผลิตและศูนย์กลางการส่งออกสำคัญระดับโลก ในมูลค่าดังกล่าวยังรวมถึงการลงทุนกว่า 377 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อพัฒนาและขยายไลน์การผลิตรถกระบะที่โรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) เพื่อผลิตรถฟอร์ด เรนเจอร์ใหม่ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ใหม่ และยังรวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมอีก 450 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2555 สำหรับโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) ในจังหวัดระยอง นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2558 ฟอร์ดยังลงทุนเพิ่มเติมอีก 186 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตฟอร์ด เรนเจอร์ ที่โรงงานเอฟทีเอ็ม เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค
ในปี พ.ศ. 2564 ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของฟอร์ดในประเทศไทยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจในไทยกว่า 25 ปี ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 28,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ทั้งที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) ซึ่งฟอร์ดเป็นเจ้าของ และโรงงานร่วมทุน ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) เพื่อรองรับการผลิตรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ และรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ฟอร์ด ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ Ford+ (ฟอร์ด พลัส) เพื่อสร้างการเติบโตและเพิ่มคุณค่าของบริษัท โดยโรงงานเอฟทีเอ็ม มีกำลังการผลิตรถรวมอยู่ที่ 135,000 คันต่อปี ในขณะที่โรงงานเอเอทีมีกำลังการผลิตรถรวมอยู่ที่ 270,000 คันต่อปี
ฟอร์ดให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนที่ฟอร์ดดำเนินธุรกิจอยู่ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วประเทศไทย ฟอร์ดได้จัดทำโครงการ Ford Driving Skills for Life หรือ ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมของฟอร์ดทั่วโลกที่ให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัย ในประเทศไทย ฟอร์ดได้จัดอบรมโครงการให้กับผู้สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมแล้วกว่า 13,000 ราย ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
ฟอร์ดยังได้บริจาครถยนต์ฟอร์ด สิ่งของจำเป็น ทรัพยากรบุคคล และเงินสนับสนุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติในประเทศไทย อีกทั้งยังสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับนักเรียนไทย ภายใต้โครงการทุนการศึกษา Ford+ Innovator Scholarship และโครงการ เปลี่ยนความรู้...สู่อาชีพ ที่ฟอร์ดจัดทำร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเป็นช่างเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น ทั้งจากห้องเรียน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมเพื่อสังคมของอาสาสมัครฟอร์ดทั่วโลกในโครงการ Water Go Green
นอกจากนี้ กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี หน่วยงานเพื่อสังคมของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ยังได้ก่อตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC) ในชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ นี้เป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และหน่วยงานเอ็นจีโอหลายองค์กร โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและความช่วยเหลือตามความต้องการและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น